top of page
2_edited.png

สำนักงานกฎหมายนิติกาญจย์และเพื่อน

NITIKARN  SOLICTORS  OFFICE

         บทมาตราหลักที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะของสัญญาจำนอง คือ ป.พ.พ. มาตรา 702 ซึ่งบัญญัติว่า

          "อันว่าจำนองนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าผู้จำนอง เอาทรัพย์สินตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้รับจำนอง เป็นประกันการชำระหนี้ โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจำนอง

          ผู้รับจำนองชอบที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญ มิพักต้องพิเคราะห์่ว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะได้โอนไปยังบุคคลภายนอกแล้วหรือหาไม่"

          ดังนั้น ลักษณะของสัญญาจำนอง คือ          

          1. ผู้จำนองอาจเป็นลูกหนี้ชั้นต้น หรือบุคคลที่สามก็ได้ 

                    การจำนองเป็นการประกันการชำระหนี้ด้วย "ทรัพย์สิน" ไม่ใช่เป็นการเอาตัวบุคคลมาเป็นประกันการชำระหนี้ ดังนั้น ผู้จำนองจึงอาจเป็น "ลูกหนี้ชั้นต้น" หรือ "บุคคลที่สาม" ก็ได้ ส่วนหนี้ประธานที่มีอยู่ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ชั้นต้นจะเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นโดย "สัญญา" หรือ "ละเมิด" ก็ได้ และอาจเป็นหนี้ที่มีอยู่แล้วในขยะทำสัญญาจำนอง หรือหนี้ที่จะมีขึ้นในอนาคตก็ได้

          2. เอาทรัพย์สิน "ตรา" ไว้เป็นประกันการชำระหนี้

                    หมายถึง การนำเอกสารที่แสดงถึงสิทธิ ไปจดทำเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อให้ทรัพย์สินนั้นผูกพันเป็นประกันการชำระหนี้ประธาน กฎหมายจึงกำหนดให้สัญญาจำนองต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ นอกจากนี้ เจ้าพนักงานจะบันทึกการจำนองไว้ในสารบัญจดทะเบียนหลังโฉนดที่ดินด้วยว่าเจ้าของที่ดินจำนองต่อผู้ใด เมื่อวัันที่เท่าไหร่    

                    โดยผู้จำนองไม่จำต้องส่งมอบทรัพย์สินที่จำนอง แต่หากตกลงกันว่าจะต้องส่งมอบทรัพย์สินที่จำนองให้แก่ผู้จำนองด้วย ข้อตกลงเช่นนี้ก็ใช้บังคับกันได้ แต่ไม่มีผลกระทบถึงสิทธิและหน้าที่อื่นตามสัญญาจำนอง

                    ผู้รับจำนองต้องเป็นเจ้าหนี้ เนื่องจากมาตรา 702 ใช้คำว่า "ตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้รับจำนอง เป็นประกันการชำระหนี้" ดังนั้น การจำนองต้องเป็นการจดทะเบียนเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ต่อเจ้าหนี้ 

          3. หนี้ที่จำนองเป็นประกันต้องเป็น "หนี้ที่สมบูรณ์"

                    เนื่องจาก มาตรา 707 บัญญัติว่า "บทบัญญัติมาตรา 681 ว่าด้วยค้ำประกันนั้น ท่านให้ใช้ได้ในการจำนอง อนุโลมตามสมควร"

ดังนั้น เมื่อนำมาตรา 681 มาใช้บังคับในสัญญาจำนองโดยอนุโลมมีผลดังนี้

                              3.1 การจำนองเพื่อประกันจะทำให้เฉพาะหนี้ (ประธาน) ที่สมบูรณ์ ถ้าทำสัญญาจำนองประกันหนี้ที่ไม่สมบูรณ์ การจำนองเช่นนั้นไม่มีผลบังคับให้ผู้จำนองต้องรับผิดตามสัญญาจำนอง

                              3.2 เมื่อหนี้ประธานเป็นหนี้ที่สมบูรณ์แล้ว แม้ขาดหลักฐานที่จะฟ้องร้อง ก็สามารถจำนองประกันหนี้นั้นได้ โดยไม่ต้องคำนึงว่าเจ้าหนี้จะฟ้องตามหนี้ประธานได้หรือไม่ 

                              ฎ.1604/2536 จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโจทก์ไป 1,500,000 บาท หนี้มีอยู่จริงและสมบูรณ์แล้ว เพียงแต่ขาดหลักฐานแห่งการ

กู้ยืม ตามกฎหมายห้ามมิให้ฟ้องร้องบังคับเอาแก่จำเลยที่ 1 เท่านั้น แต่หนี้ดังกล่าวมีจำนองเป็นประกันตามมาตรา 707 และ 681 ได้ เมื่อโจทก์

ยังไม่ได้รับชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืม ย่อมบังคับเอาแก่จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ผู้จำนองได้

                              3.3 หนี้ในอนาคต หรือหนี้ที่มีเงื่อนไข จะทำจำนองประกันไว้ก็ได้ การจำนองที่ประกันหนี้ในอนาคตที่ทำกันมาก คือ 

จำนองประกันหนี้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี และจำนองประกันหนี้อันเกิดจากการกระทำของลูกจ้าง 

                              แต่อย่างไรก็ตาม การจำนองหนี้ในอนาคตหรือหนี้ที่มีเงือนไข กรณีนี้ต้องมีรายการตามที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 707 ประกอบมาตรา 681 ดังนั้น ถ้าสัญญาจำนองที่ทำขึ้นไม่มีรายการ หรือ มีไม่ครบถ้วน สัญญาจำนองดังกล่าวย่อมเป็นโมฆะ 

          ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับสัญญาจำนองก่อนว่ามีลักษณะอย่างไร

          

จะบังคับจำนองอย่าไร หากสัญญากู้ยืมเงินขาดหลักฐาน ?

ลัษณะของสัญญาจำนอง

          กล่าวโดยสรุป เมื่อพิจารณาถึงหลักเกณฑ์ข้างต้นประกอบเข้ากันแล้ว เมื่อหนี้ประธาน (สัญญากู้ยืมเงิน) มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย จึงเป็นหนี้ที่สามารถมีประกันการชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 707 และมาตรา 681 ได้ แม้สัญญากู้ยืมเงินจะขาดหลักฐานแห่งการกู้ยืม ซึ่งมีผลเพียงไม่สามารถฟ้องร้องบังคับคดีในมูลหนี้ตามสัาญญากู้ยืมเงินตามนัยของ ป.พ.พ. มาตรา 653  ว.1 เท่านั้น หาทำให้สัญญาจำนองสิ้นผลบังคับตามกฎหมาย หรือตกเป็นโมฆะไม่ ดังนั้นเมื่อหนี้ตามสัญญากู้ยืมดังกล่าวเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและสมบูรณ์จึงมีผลผูกพันลูกหนี้ เจ้าหนี้ชอบที่จะได้รับชำระหนี้ดังกล่าว เมื่อหนี้ดังกล่าวมีการจำนองเป็นประกัน และเจ้าหนี้ยังไม่ได้รับชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน เจ้าหนี้ย่อมฟ้องบังคับเอาจากทรัพย์ที่จำนองออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ได้

   

bottom of page